วันนี้อรญาจะแชร์ข้อมูลเรื่องการเสียภาษีสำหรับคนที่ทำงาน Vollzeit, Teilzeit ส่วนคนที่ทำงาน Minijob คือมีรายได้ไม่เกิน 450 ยูโรต่อเดือน ก็จะไม่ถูกหักภาษีเหล่านี้ แต่ก่อนจะไปเรื่องภาษีที่ต้องถูกหัก ขอให้ข้อมูลเบื้องต้นเรื่องการทำงาน Vollzeit Teilzeit Minijob ตามนี้ก่อนนะคะ
การทำงาน Vollzeit คือ ทำงาน 5 วัน จำนวนชั่วโมง 38-45 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับบริษัทหรือประเภทของกิจการ บางบริษัทก็ 35-36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ก็มี แต่ต้องไม่ต่ำกว่านี้ จึงจะถือว่าเป็นการทำงาน Vollzeit
การทำงาน Teilzeit คือ จำนวนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์จะต่ำกว่า 35 ชั่วโมงนั่นเอง อาจจะมีการทำงาน 5 วัน หรือน้อยกว่าก็ได้ อย่างกรณีอร ทำงานเป็น Teilzeit ทำงาน 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และทำงาน 5 วัน เป็นต้น
การทำงานไม่ว่าจะเป็น Vollzeit oder Teilzeit จำนวนชั่วโมงก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัท ตามแต่ประเภทของกิจการนั้นๆ แต่หลักๆ จะมีเป็นมาตรฐานตามกฏหมายกำหนด
การทำงานมินิจ๊อบ Minijob ไม่มีจำนวนชั่วโมงการทำงานที่ตายตัว มีแต่รายได้รวมต่อเดือนต้องไม่เกิน 450 ยูโรต่อเดือนเท่านั้น บางทีอาจจะทำงานแค่ 2 -3 วัน วันละไม่กี่ชั่วโมงก็ได้ ก็ขึ้นอยู่กับบริษัทที่เราทำงานจะเป็นคนจัดสรรให้ และรายได้ได้รับการยกเว้นภาษี
รายการภาษีและอื่นๆ ที่จะต้องถูกหักในแต่ละเดือนของมนุษย์เงินเดือนตามนี้เลยค่า
1. Lohnsteuer (ภาษี) ซึ่งจะถูกหักมากน้อยขึ้นอยู่กับฐานภาษีแต่ละคน หลักๆ จะมี 6 ระดับ (รายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง)
2. Krankenversicherung ประกันสุขภาพที่ทุกคนต้องมี กรณีไม่ได้ทำงาน ประกันสุขภาพเป็นประกันสุขภาพสำหรับครอบครัว Familienversicherung เช่นเราไม่ได้ทำงาน สามีต้องเป็นคนทำประกันส่วนนี้ให้เรา
3. Rentenversicherung ประกันเงินเกษียณ ภาษาพูดสั้นๆ ว่าRente (จะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนปีที่ทำงานและสายงานอาชีพที่ทำ โดยจะมีการคิดให้จากเงินเดือนสุดท้ายที่เราทำงาน แต่เราจะไม่ได้100% เท่าเงินเดือน ทางรัฐจะคิดให้โดยดูจากจำนวนปีที่เราทำงานมาด้วย เช่นสมมุติ คนที่ทำงานแบบ Vollzeit มา 45 ปีเต็ม อาจจะได้รับเงินเกษียณประมาณ 60-80% คนที่ทำงานแบบ Teilzeit มาเป็นเวลากี่ปีเต็มก็จะได้รับเงินเกษียณแตกต่างกับคนที่ทำงานเต็มเวลา ประมาณนี้เป็นต้น นี่ก็เป็นข้อมูลคร่าวๆ ที่อรพอจะทราบนะคะ สำหรับคนที่ทำงาน Minijob ปกติจะไม่มีการหักเงินเข้า Rentenversicherung นอกจากความสมัครใจ ถ้าเราอยากจะมีเงินเกษียณในอนาคต เราสามารถแจ้งนายจ้างให้หักเงินได้ โดยนายจ้างจะมีแบบฟอร์มให้เรามากรอก ซึ่งอรคิดว่าเป็นการดีนะ เพราะเงินตรงนี้เราจ่ายส่วนหนึ่ง นายจ้างจ่ายสมทบให้เราส่วนหนึ่ง แล้วจะกลายมาเป็นเงินเกษียณให้เราในอนาคตนั่นเอง ตอนนี้กฏหมายที่เยอรมันจะให้เกษียณอายุตอน 65 ปี
4. Arbeitslosenversicherung เงินตกงาน เราต้องจ่ายมาแล้วไม่ต่ำกว่า 24 เดือน ที่ Agentur für Arbeit ถ้าเราตกงานถึงจะไปลงทะเบียน ของรับเงินตรงนี้ได้นะคะ
5. Pflegeversicherung ประกันสำหรับการดูแลต่างๆ เช่น คนที่มาดูแลเราตอนแก่ถ้าเราดูแลตัวเองไม่ได้ เป็นต้น
6. Kirchensteuer 8-9% ภาษีโบส์สำหรับคนที่นับถือศาสนาคริสต์ (ตรงนี้อรไม่เสียเพราะนับถือศาสนาพุทธ)
7. Solidaritätszuschlag 5.5% ภาษีทหาร ที่อรเรียกภาษีทหาร คือเรียกเองให้จำง่ายๆ ไม่รู้ว่าจะเรียกเป็นภาษาไทยว่าอะไรดี เลยเรียกว่าภาษีทหาร คือคิดเองว่ามาจากคำว่า Soldat ที่แปลว่าทหารนั่นเอง แต่จริงๆแล้ว คำว่า Solidarität ถ้าให้แปลเป็นไทย มันก็คือการให้รวมกันหนึ่งเดียว รวมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวอะไรประมาณนี้ เพราะภาษี Solidarität นี้ ได้มีการเรียกเก็บหลังจากที่เยอรมันมีการรวมสองฝั่งตะวันตกและตะวันออกให้เป็นหนึ่งเดียวนั่นเอง ซึ่งรัฐบาลได้เก็บมาเพื่อที่จะเอาไปพัฒนาเยอรมันผั่งที่เคยเป็นคอมมิวนิสส์มาก่อนตามที่เล่าในคลิปนั้นเอง หรือจะให้แปลว่าภาษีรวมเป็นหนึ่งเดียว หรือภาษีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ก็น่าจะได้นะคะ แต่อรขอเรียกภาษีทหารละกัน 555 (อันนี้อรเสียทั้งในเงินดือนและดอกเบี้ยจากบัญชีธนาคาร เสียซ้ำเสียซ้อน T_T)
ขอเล่าประวัติย่อๆ นิดหนึ่ง ใครอยากอ่านเต็มๆ เสิทอากู๋ได้เลยนะคะ คือ เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สองเยอรมันถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่ง โดยมีกำแพงเบอร์ลินคั่น คือฝังตะวันตก BRD (Bundesrepublik Deutschland) คอมมิวนิสต์ และฝั่งตะวันออก DDR (Deutsche Demokratische Republik) ประชาธิปไตย พอปี 1990 มีการรวมเยอรมันสองฝั่งให้เป็นหนึ่งเดียวกัน รัฐบาลจึงมีการเก็บภาษีทหารขึ้นมาเพื่อเอาเงินไปใช้บริหารพัฒนาประเทศด้านที่ไม่เจริญ(ฝั่งคอมมิวนิสต์) นั่นเอง และยังคงเก็บมาจนถึงทุกวันนี้ คนเยอรมันบางส่วนก็ไม่พอใจอยากให้ยกเลิกการเก็บภาษีส่วนนี้ แต่ก็ไม่ง่ายเพราะเป็นเรื่องของการเมือง (ซึ่งมีทุกประเทศ) จึงยังคงเก็บกันต่อไปมาถึงทุกวันนี้ คงจะอีกหลายปีกว่าจะเลิกเก็บภาษีตัวนี้
ระดับภาษี Steuerklassen ที่มีปัจจุบัน
1. Ledig โสด
2. Verheirate แต่งงาน
3. Verwitwet เป็นหม้าย
4. Alleinerziehend การเป็นผู้ปกครองคนเดียว เช่น คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่หย่าแล้ว หรือไม่ได้จดทะเบียนแต่งงาน
5. Getrennt lebend แยกกันอยู่ ระหว่างรอทำเรื่องหย่าภายใน 1 ปี
6. Neben Jobber การทำงานอื่นคู่กับงานประจำ เช่น Mini Job คู่กับงาน Vollzeit, Teilzeit
ที่มา https://www.steuerklassen.com/steuern/
ยังมีภาษีอื่นๆ ปลีกย่อยอีกมากมายในเยอรมันนี เช่น ภาษีสัตว์เลี้ยง หมา ม้า ที่ต้องเสียทุกปีจะมากน้อยขึ้นอยู่กับชนิดประเภทของหมาหรือม้า ที่บ้านเคยมีหมาตัวเล็กๆ ตัวหนึ่ง เสียภาษีปีละ 30 ยูโร ส่วนแมว หนูแฮมเตอร์ ปลา สัตว์เลี้ยงอื่นๆ ไม่ต้องเสียภาษี และไหนจะต้องทำประกันให้สัตว์เลี้ยงแสนรักของเราด้วยนะคะ และยังมีภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT 19% ในสินค้าอุปโภคบริโภคทุกอย่าง ร้านอาหาร บริการทุกชนิดจะมี VAT 19% รวมอยู่ด้วย เช่น ล่าสุดใบเสร็จค่าทำฟัน ใบเสร็จจากการไปใช้บริการทนาย ที่อรไปใช้บริการ เป็นต้น
ภาษีบ้าน ที่ดิน Wohnung ภาษีมรดก ภาษีจากดอกเบี้ย บัญชีธนาคาร ที่เล่าไปในคลิปการเปิดบัญชีธนาคารในเยอรมัน ภาษีรายได้จากการเทรดหุ้น เงินสกุลดิจิตอล ภาษีอื่นๆ เช่นถ้าเราเปิดเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ ก็ต้องไปลงทะเบียนให้ถูกต้องและเสียภาษี หรือแม้แต่การไปขายของตลาดนัด เราก็ต้องไปลงทะเบียนว่าเราจะไปขายของที่ตลาดนัดที่ Rathaus เมืองที่เราอยู่และก็จะต้องถูกประเมินเก็บภาษีเป็นรายปี และยังมีภาษีอื่นๆ สารพัดยิบย่อย อรไม่สามารถหาข้อมูลมาให้ได้หมดนะคะ เพราะอรเองก็ไม่ได้รู้ไปทุกอย่างนะคะ แชร์เท่าที่อรรู้ก็แล้วกันเนอะ 555
เรื่องการเสียภาษีที่เยอรมันเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเสีย หลบเลี่ยงไม่ได้ มีโทษปรับร้ายแรง คนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นคนทำงาน คนโสด คนทำธุรกิจ ร้านค้า ร้านอาหารต่างๆ เรียกว่าแทบจะทุกกิจการ จะใช้บริการบริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านภาษี บริษัทจัดการภาษี Steuerberatung ให้ทำการเสียภาษีให้ ซึ่งบริษัทเหล่านี้จะรู้กฎหมายภาษี รู้ว่ามีอะไรให้เรานำไปลดหย่อนได้บ้าง เพราะกฏหมายมีการเปลี่ยนแปลงตลอด คนธรรมดาอย่างเราไม่มีทางรู้ข้อมูลได้หมดหรอกค่ะ ต้องใช้บริการบริษัทให้คำปรึกษาด้านภาษี และนี่ก็เป็นเรื่องภาษีต่างๆ ในเยอรมันเท่าที่อรญารู้ เลยนำมาแชร์เล่าสู่กันฟัง หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนบ้างนะคะ จบค่า 🙂